บริษัท MeDee จำกัด
ความเป็นมา
บริษัท Medee จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 12/1 หมู่ 6 ถ.เพชรเกษม ต.หัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77110 โทร 08-8563-3748 บริษัทนี้ก่อตั้งขึ้น ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2532 โดยกลุ่มผู้บริหารตระกูลเจริญทรัพย์ เพื่อผลิตผลไม้กระป๋องบริโภค ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทางด้านการผลิตให้มีคุณภาพและความสะอาด การคัดเลือกวัตถุดิบที่ต้องให้ได้มาตรฐาน ทำให้ผลิตภัณฑ์ได้รับมาตรฐาน ISO9002 ที่ให้สำหรับการผลิตที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและ ISO14001 สำหรับโรงงานที่มีการจัดการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม มอก.18000 มอบให้กับอุตสาหกรรมที่ได้มาตรฐานตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนด ซึ่งเป็นเรื่องที่ทางผู้บริหาร และพนักงานทุกท่านภาคภูมิใจเสมอมา และมุ่งมั่นที่จะรักษามาตรฐานอย่างเคร่งครัดโดยยึดถือสโลแกนที่ว่า"มุ่งสู่โลกกว้าง สร้างมาตรฐานสินค้า รักษาสิ่งแวดล้อม" ยังคงขยายการผลิตอย่างไม่หยุดยั้ง เห็นได้จากผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
เมื่อก่อนแต่ละแผนกเวลาจะเก็บข้อมูลไม่ว่าจะเป็นรายชื่อพนักงาน สินค้าเข้า-ออก บัญชีรายรับ-รายจ่าย และฐานข้อมูลต่างๆที่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลไว้ ก็ต้องใช้การจดบันทึกทุกอย่าง ส่วนในด้านการผลิตสินค้าก็ไม่มีเครื่องมือช่วยต้องใช้แรงงานพนักงานทั้งสิ้นตั้งแต่นำวัตถุดิบเข้ามาแล้วทำการแปรรูป ขบวนการผลิต รวมไปถึงการบรรจุภัณฑ์จนการเคลื่อนย้ายของไปเก็บในคลังสินค้า ส่วนในด้านการเก็บวัตถุดิบไม่สามารถสั่งเข้ามาเก็บไว้กักตุนไว้ได้ เพราะไม่มีที่สำหรับแช่เย็นไว้ ส่วนในด้านการเก็บสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้ว มักจะมีปัญหากับของล้นคลังหรือสินค้าขาดสต็อก อาจเกิดมาจากความผิดพลาดของพนักงาน ส่วนในด้านรายรับรายจ่าย เนื่องจากเราไม่มีระบบการคิดคำนวนโดยตรงจึงทำให้ข้อมูลที่เก็บไว้ อาจมีข้อผิดพลาดไม่ตรงกับรายรับรายจ่ายจนทำให้รายรับรายจ่ายที่คิดออกมาผิดไป รวมไปถึงการจ่ายเงินให้แก่พนักงานแต่ละฝ่ายเราจะเสียเวลากับการต้องมานั้นจ่ายเงินให้แต่ละคนโดยตรง แทนที่จะมีระบบออนไลน์เข้าบัญชีธนาคาร ส่วนด้วยการบันทึกการเข้าออกของพนักงานก็ต้องใช้การจดบันทึก เพราะเราไม่มีหลักฐานยืนยันเมื่อพนักงานเกิดการร้องเรียนเรื่องเงินที่ออกมา และการคำนวณเงินเดือนแต่ละเดือนที่ออกมาอาจไม่ถูกต้องแม่นยำที่สุดตามที่คิดไว้
ภารกิจหลักของบริษัท
1. พัฒนารสชาติของผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ถูกปากผู้บริโภค
2. ผลิตสินค้าให้ออกมาตรงตามใจผู้บริโภคให้มากที่สุด
3. ผลิตสินค้ามาให้พอกับความต้องการของผู้บริโภค
วัตถุประสงค์ของบริษัท
1. เพื่อเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายให้แก่ลูกค้าและเกิดที่ความพึงพอใจของลูกค้า
2. เพื่อให้สินค้าที่ผลิตภัณฑ์มีความสะอาด อร่อย และถูกหลักอนามัย
3. เก็บถนอมและปรุงแต่ง(แปรรูป)ผลไม้ให้ได้มากที่สุด
เป้าหมายของบริษัท
ต้องการผลิตผลไม้กระป๋องออกมาให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด
แผนผังการจัดการองค์กร บริษัท MeDee จำกัด
หน้าที่และปัญหาของแต่ละแผนก
1. แผนกจัดชื้อ
- จัดซื้อ จัดหา จัดจ้าง วัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องบรรจุภัณฑ์
- จัดหาผู้ขายสินค้าผู้ส่งสินค้ารายใหม่ๆ
- เปิดเอกสารใบขอซื้อ/ใบสั่งซื้อ จัดใบขอราคา/สืบราคา
ปัญหาของแผนกจัดซื้อ คือ
- ในแต่ละเดือนไม่สามารถทราบได้แน่ชัดว่าบริษัทสั่งสินค้าจำนวนเท่าไร ราคา มากเท่าไร
- บิลสั่งของอาจหล่นหายจนเช็คของคลาดเคลื่อน
- บางครั้งสั่งไม่ตรงตามที่ต้องการ
2. แผนกคลังวัตถุดิบ
- ควบคุมและประสานงานด้านวัตถุดิบ
- เตรียมวัตถุดิบเพื่อเข้าสู่ขบวนการคัดแยก
ปัญหาของแผนกคลังวัตถุดิบ คือ
- วัตถุดิบล้นคลัง
- วัตถุดิบที่เข้ามามีเวลาอยู่ได้ไม่นานเพราะไม่ได้อุณหภูมิ
- เสียเวลาในการคัดแยกวัตถุดิบ
3. แผนกคลังสินค้า
- วางแผนควบคุมบริหารการสั่งซื้อวัสดุใช้งานทั่วไป ภาชนะบรรจุบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ
- การจัดหาพื้นที่เช่าเพิ่มเติมให้สามารถรับปริมาณสินค้า
- วางแผนควบคุมการปิดฉลาก หีบห่อสินค้า เพื่อส่งออกหรือส่งขายได้ทันเวลาที่ลูกค้า
ปัญหาของแผนกคลังสินค้า คือ
- ทำให้ยุ่งยากต่อพนักงานในการเช็คของ
- ในแต่ละคนปิดฉลากไม่เหมือนกันไม่เท่ากัน ทำให้ฉลากที่ออกไปนั้นไม่สมบูรณ์และไม่ เหมือนกัน
4. แผนกผลิตและบรรจุภัณฑ์
- ผลิตและบรรจุภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
- ต้องรักษาความสะอาดอย่าให้มีอะไรปนเปื้อนในการบรรจุภัณฑ์
ปัญหาของแผนกผลิต คือ
- ในการบรรจุในแต่ละครั้งได้ปริมาณไม่เท่ากัน
- สินค้าที่ต้องผลิตเยอะทำให้ต้องจ้างพนักงานมาหลายคนทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ
- ทำให้เกิดการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์มากขึ้น
- ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการปิดฝานั้นไม่มีความคงทนและแข็งแรงเพียงพอ
- ในการบรรจุภัณฑ์รวมถึงการปิดฝาต้องใช้ความชำนาญสูง เพราะอาจเกิดอันตรายได้
5. แผนกควบคุมคุณภาพ
- ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ เพื่อที่จะส่งออกไปขาย
- การวิเคราะห์คุณภาพทางเคมีและแบคทีเรียของผลิตภัณฑ์
ปัญหาของแผนกควบคุมคุณภาพ คือ
- ในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาจไม่ทั่วถึง ทำให้บางทีสินค้าไม่มีคุณภาพและไม่เพียงพอ ออกจำหน่าย
- ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่ชำรุดได้ยากเช่น กระป๋องขึ้นสนิม เป็นต้น
6. แผนกขนส่ง
- ตรวจสอบรายการสินค้าก่อนนำไปส่งจำหน่าย
- ขนส่งสินค้าออกไปส่งจำหน่าย
ปัญหาของแผนกขนส่ง คือ
- ในการขนส่งบางทีรถที่บรรทุกไปไม่ได้มาตรฐาน ทำให้เกิดการกระแทกจนกระป๋องบุบได้
- ตรวจเช็คได้ยากบางทีสินค้าที่จะส่งไปในบริเวณใกล้เคียงกันทำให้เสียเวลา
- ในการขนย้ายของขึ้นรถของอาจตกหล่นลงได้
7. แผนกการตลาด
- สำรวจความพึงพอใจของลูกค้า
- วางแผนกลยุทธ์การตลาดเพื่อเพิ่มและขยายส่วนครองตลาด
- หาช่องทางการขายสินค้าให้ได้มากที่สุด
- ประชาสัมพันธ์สินค้า
ปัญหาของแผนกการตลาด คือ
-ไม่สามารถประชาสัมพันธ์ให้แก่ลูกค้าได้อย่างทั่วถึง
- รู้ข่าวสารในตลาดกลางได้ช้า
8. แผนกบัญชีและการเงิน
- เปิดใบกำกับภาษี/ใบส่งสินค้า/ใบแจ้งหนี้
- จัดทำใบวางบิลค่าสินค้า/ค่าขนส่งสินค้าและบริการอื่น
- ตรวจสอบการรับเงินโอน เช็ค เงินสด ออกใบเสร็จรับเงิน
- จัดทำรายงานทางการเงินและบัญชี
ปัญหาของแผนกบัญีและการเงิน คือ
- อาจเกิดข้อผิดพลาดเรื่องเงินได้สูง
- ในการคิดบัญชีรายรับรายจ่ายทำได้ยาก
- ใบกำกับภาษี/ใบส่งสินค้า/ใบแจ้งหนี้ไม่ชัดเจนอาจเกิดการเข้าใจผิดได้
9. แผนกรักษาความปลอดภัย
- เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมีหน้าที่ปกป้องดูแลชีวิต และทรัพย์สินของผู้ว่าจ้างไม่ให้ได้ รับความสูญเสีย
- ป้องกันอัคคีภัย ผู้บุกรุกเข้าไปในเขตหวงห้าม ป้องกันการโจรกรรม และอาชญากรรม การ สูญเสียอื่นๆ
ปัญหาของแผนกรักษาความปลอดภัย คือ
- เมื่อมีคนบุกรุกจะดูแลไม่ทั่วถึง
- เมื่อเกิดปัญหา ไฟไหม้ มีผู้บุกรุก หรือมีคนขอความช่วยเหลือทำให้ติดต่อสื่อสารกันยาก
- ไม่สามารถบันทึกการเข้าออกภายในบริษัทได้
10. แผนกบุคลากร
- จัดหาและคัดเลือกพนักงานที่เข้ามาทำงาน
- ทำทะเบียนพนักงาน เก็บประวัติพนักงาน
ปัญหาของแผนกบุคลากร คือ
- พนักงานไม่สามารถตรวจสอบตารางการทำงานผ่านทางอื่นได้
- ไม่สามารถรู้ถึงจำนวนพนักงานที่ต้องการรับได้
- ไม่สามารถสืบค้นประวัติพนักงานย้อนหลังได้
ปัญหาระหว่างแผนก
ปัญหาระหว่างแผนกจัดซื้อกับแผนกคลังวัตถุดิบ
คือถ้าหากไม่ทราบยอดที่แน่นอนจากคลังวัตถุดิบว่าต้องการของเท่าไรแผนกจัดซื้อก็ไม่แน่ชัด สั่งของเข้ามาอาจไม่พอตามที่ต้องการ
ปัญหาระหว่างแผนกการตลาดกับแผนกคลังสินค้า
คือหากแผนกการตลาดไม่เช็คท้องตลาดอยู่บ่อยๆสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้าก็จะล้นสต๊อกได้
ปัญหาระหว่างแผนกผลิตและบรรจุภัณฑ์กับแผนกคลังสินค้า
คือหากการผลิตและบรรจุภัณฑ์เอาแต่ผลิตไม่สนใจว่าคลังสินค้ามีสินค้าในคลังเท่าไรทำให้สินค้าล้นสต็อกได้
ปัญหาระหว่างแผนกการตลาดกับแผนกผลิตและบรรจุภัณฑ์
คือหากการตลาดรู้ว่าตลาดต้องการของจำนวนมากกว่าปกติถ้าแผนกผลิตและบรรจุภัณฑ์ไม่รีบเร่งผลิตก็ทำให้เกิดการเสียดุลการค้าไปได้
ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีและการเงินกับแผนกบุคลากร
คือหากบริษัทเกิดภาวะไม่มีของที่ผลิตไปขายไม่ได้แล้วถ้าแผนกบุคลากรรับคนเข้ามาเยอะจะทำให้แผนกบัญชีและการเงินต้องเสียค่าแรงงานเพิ่มขึ้น
สรุปปัญหาทั้งหมด
1. ในแต่ละเดือนไม่สามารถทราบได้แน่ชัดว่าบริษัทสั่งสินค้าจำนวนเท่าไร ราคา มากเท่าไร
2. บิลสั่งของอาจหล่นหายจนเช็คของคลาดเคลื่อน
3. บางครั้งสั่งไม่ตรงตามที่ต้องการ
4. เมื่อผู้ขายสินค้าเจ้าเก่าส่งสินค้ามาไม่พอแผนกจัดสั่งซื้อของจำเป็นต้องหาผู้ขายสินค้ารายใหม่ อย่างรวดเร็ว
5. วัตถุดิบล้นคลัง
6. วัตถุดิบที่เข้ามามีเวลาอยู่ได้ไม่นานเพราะไม่ได้อุณหภูมิ
7. เสียเวลาในการคัดแยกวัตถุดิบ
8. ในการลำเลียงวัตถุดิบไปยังการบรรจุภัณฑ์ทำให้ของเสียหายได้
9. เสียเวลาในการลำเลียงของออกจากคลัง เพราะของมีปริมาณมาก
10. ในการปิดฉลาก ปิดหีบสินค้าล้าช้าและสิ้นเปลืองแรงงาน
11. ในการบรรจุในแต่ละครั้งได้ปริมาณไม่เท่ากั
12. ทำให้เกิดการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์มากขึ้น
13. ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการปิดฝานั้นไม่มีความคงทนและแข็งแรงเพียงพอ
14.ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่ชำรุดได้ยากเช่น กระป๋องขึ้นสนิม เป็นต้น
15. ต้องใช้พนักงานจำนวนมากในการเคลื่อนย้ายของขึ้นรถ
16. ตรวจเช็คได้ยาก บางทีสินค้าที่จะส่ง ไปในบริเวณใกล้เคียงกันทำให้เสียเวลา
17. ในการขนย้ายของขึ้นรถของอาจตกหล่นลงได้
18. ต้องไปประเมินความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าด้วยตัวเอง
19. ไม่สามารถประชาสัมพันธ์ให้แก่ลูกค้าได้อย่างทั่วถึง
20. รู้ข่าวสารในตลาดกลางได้ช้า
21. อาจเกิดข้อผิดพลาดเรื่องเงินได้สูง
22. จ่ายค่าตอบแทนให้แก่พนักงานได้ยาก
23. ในการคิดบัญชีรายรับรายจ่ายทำได้ยาก
24. สืบค้นบัญชีย้อนหลังได้ยาก
25. ใบกำกับภาษี/ใบส่งสินค้า/ใบแจ้งหนี้ไม่ชัดเจนอาจเกิดการเข้าใจผิดได้
26. เมื่อมีคนบุกรุกจะดูแลไม่ทั่วถึง
27. เมื่อเกิดปัญหา เช่น ไฟไหม้ มีผู้บุกรุก หรือมีคนขอความช่วยเหลือทำให้ติดต่อสื่อสารกันยาก
28. ไม่สามารถบันทึกการเข้าออกภายในบริษัทได้
29. พนักงานไม่สามารถตรวจสอบตารางการทำงานผ่านทางอื่นได้
30. ไม่สามารถรู้ถึงจำนวนพนักงานที่ต้องการรับได้
การใช้ระบบต่างๆในการแก้ปัญหา มีหัวข้อดังต่อไปนี้
1.ระบบจัดการคลังสินค้า
- ในแต่ละเดือนไม่สามารถทราบได้แน่ชัดว่าบริษัทสั่งสินค้าจำนวนเท่าไร ราคา มากเท่าไร
- เสียเวลาในการคัดแยกวัตถุดิบ
- สินค้าที่ออกไปนั้นเกิดความเสียหายได้
- เสียเวลาในการลำเลียงของออกจากคลัง เพราะของมีปริมาณมาก
2.ระบบคำนวณเงินเดือน
- ในการปิดฉลาก ปิดหีบสินค้าล้าช้าและสิ้นเปลืองแรงงาน
- สินค้าที่ต้องผลิตเยอะ ทำให้ต้องจ้างพนักงานมาหลายคน ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณและเวลา
- จ่ายค่าตอบแทนให้แก่พนักงานได้ยาก
3.ระบบบันทึกบัญชีรายรับรายจ่าย
- เมื่อผู้ขายสินค้าเจ้าเก่าส่งสินค้ามาไม่พอแผนกจัดสั่งซื้อของจำเป็นต้องหาผู้ขายสินค้ารายใหม่ อย่างรวดเร็ว
- อาจเกิดข้อผิดพลาดเรื่องเงินได้สูง
- ในการคิดบัญชีรายรับรายจ่ายทำได้ยาก
- ใบกำกับภาษี/ใบส่งสินค้า/ใบแจ้งหนี้ไม่ชัดเจนอาจเกิดการเข้าใจผิดได้
4.ระบบบริหารสารสนเทศพนักงาน
- ในการปิดฉลาก ปิดหีบสินค้าล้าช้าและสิ้นเปลืองแรงงาน
- สินค้าที่ต้องผลิตเยอะ ทำให้ต้องจ้างพนักงานมาหลายคน ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณและเวลา
- ทำให้เกิดการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์มากขึ้น
- ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการปิดฝานั้นไม่มีความคงทนและแข็งแรงเพียงพอ
- ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่ชำรุดได้ยากเช่น กระป๋องขึ้นสนิม เป็นต้น
5.ระบบป้องกันภัย
- เมื่อมีคนบุกรุกจะดูแลไม่ทั่วถึง
- เมื่อเกิดปัญหา เช่น ไฟไหม้ มีผู้บุกรุก หรือมีคนขอความช่วยเหลือทำให้ติดต่อสื่อสารกันยาก
- ไม่สามารถบันทึกการเข้าออกภายในบริษัทได้
ลักษณะการทำงานในระบบใหม่
1. ในส่วนของการตลาด
- มีการบันทึกข้อมูลรายละเอียดสินค้า และราคาสินค้าลงในฐานข้อมูล เพื่อใช้ในการอ้างอิงและเรียกใช้ข้อมูลเมื่อมีการซื้อขายเกิดขึ้น
- ใช้เครื่องอ่านรหัสแถบ อ่านรหัสแถบเพื่อการจำแนกสินค้า และดึงข้อมูลราคาสินค้าจากฐานข้อมูลมาประมวลผล แทนการจดรายการสินค้าด้วยมือแบบเก่า
- ข้อมูลรายการสินค้า และยอดรวมราคาสินค้า (ใบเสร็จ) จะมีการจัดพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์
2. ในส่วนของการจัดการสินค้าคงคลัง
- ข้อมูลรายการสินค้า รายละเอียดสินค้า ความเคลื่อนไหวของสินค้า (ยอดขาย) และข้อมูลแหล่งสินค้าจะถูกบันทึกในฐานข้อมูล
- มีโปรแกรมอำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล แก้ไขปรับเปลี่ยน และการเพิ่มข้อมูล
- มีโปรแกรมประมวลผลยอดขายสินค้า เพื่อการจำแนกความสำคัญของสินค้า เพื่อช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับการควบคุมสินค้า
3. ในส่วนของพนักงา
- ทำการบันทึกประวัติของพนักงานโดยเก็บเป็นฐานข้อมูล
- มีการให้ Username, Password แก่พนักงานในการเข้าถึงข้อมูล
4. ในส่วนของเจ้าของบริษัท
- สามารถดูยอดขายของแต่ละวันเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจในการสั่งซื้อสินค้า
- สามารถดูข้อมูลของพนักงานได้
ขั้นตอนที่ 1
การค้นหาและเลือกสรรโครงการและการประเมินความต้องการของบริษัท
การประเมินความต้องการของบริษัท
ตารางแสดงรายการ การทำงาน (Functions) หรือกิจกรรมทางธุรกิจทั้งหมดขององค์กร
ตารางแสดงรายการ การทำงาน (Functions) หรือกิจกรรมทางธุรกิจทั้งหมดขององค์กร
แสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่และหน่วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (Function-to-Data Entities)
การเสนอแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งานค้นหาและสร้างแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งาน
ทีมงานได้สร้างแนวทางเลือกต่าง ๆ ก่อนที่จะทำ การเปรียบเทียบในแต่ละแนวทางเลือก มีจำนวนทั้งสิ้น 3 ทาง เพื่อให้ผู้บริหารพิจารณาว่าควรเลือกวิธีการพัฒนาและติดตั้งระบบใดที่จะก่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท โดยมีรายละเอียดดังนี้
ทางเลือกที่ 1 การจัดซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Packaged Software)
ทางเลือกที่ 2 ว่าจ้างบริษัทจากภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ (Outsourcing)
ทางเลือกที่ 3 ใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบ (In-House Development)
นอกจากนี้ ทางทีมงานได้จำ ลอง (Model) รูปแบบการนำ เสนอแนวทางเลือกที่ดีที่สุด สำ หรับพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานบุคคล (Personal Information System: PIS) ดังรูป
แนวทางเลือกที่ 1
การจัดซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Packaged Software) มีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
การประเมินแนวทางเลือกที่ 1
การประเมินผลแนวทางเลือกซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม โดยกำหนดเกณฑ์การให้นํ้าหนัก(คะแนน) เชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
นํ้าหนักเท่ากับ 4 ช่วงคะแนน 100 – 90 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดีมาก
นํ้าหนักเท่ากับ 3 ช่วงคะแนน 89 – 70 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดี
นํ้าหนักเท่ากับ 2 ช่วงคะแนน 69 – 50 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ พอใช้
นํ้าหนักเท่ากับ 1 ช่วงคะแนน 49 – 30 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ปรับปรุง
ซึ่งผลจากการประเมิน โดยการให้น้ำหนักหรือคะแนนของทีมงาน ปรากฏผลดังต่อไปนี้
สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 1
จากการประเมินสามารถสรุปได้ว่าจะนำซอฟต์แวร์ A มาใช้งาน เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด จึงเห็นสมควรว่าให้นำแนวทางเลือกนี้ไปเปรียบเทียบในขั้นตอนต่อไป
แนวทางเลือกที่ 2: ว่าจ้างบริษัทจากภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ (Outsourcing) มีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
การประเมินแนวทางเลือกที่ 2
ใช้เกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) เช่นเดียวกันกับแนวทางเลือกที่ 1 ปรากฏผลดังตารางต่อไปนี้
สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 2
จากการประเมินสามารถสรุปได้ว่าเลือกบริษัท B เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด จึงเห็นสมควรว่าให้นำแนวทางเลือกนี้ไปเปรียบเทียบในขั้นตอนต่อไป
การประเมินแนวทางเลือกที่ 3
ใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบ (In-House Development) มีรายละเอียดเพิ่มเติมดังตารางต่อไปนี้
สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 3
จากการพิจารณาสามารถสรุปได้ว่าทางทีมงาน มีขีดความสามารถที่จะพัฒนาระบบได้ตามข้อกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคและความต้องการของผู้ใช้งานตามที่จัดทำ ไว้เป็น TOR โดยใช้ระยะเวลาดำ เนินการจำนวนทั้งสิ้น 6 เดือน และมีค่าเงินเดือน ค่าอุปกรณ์ ค่าล่วงเวลา ค่าเบ็ดเตล็ด และค่าสำ รองฉุกเฉิน เป็นต้นรวมทั้งสิ้น 250,000 บาท
เปรียบเทียบแนวทางเลือกทั้งสาม
ผลจากการพิจารณาแนวทางเลือกของทีมงานจากทั้งสามแนวทาง จะนำ เสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะผู้บริหารเพื่อพิจารณาเลือกแนวทางทั้งสามตามที่ได้นำโดยมีรายละเอียดดั้งตารางนี้
ผู้บริหารเลือกแนวทางที่ดีที่สุด
จากข้อเสนอแนะแนวทางเลือกทั้งสามได้ทำการเปรียบเทียบเพื่อให้ผู้บริหารได้ตัดสินใจได้ผลดังตารางต่อไปนี้
สรุปผลการประเมินโดยทีมงานผู้บริหาร
ได้พิจารณาตัดสินใจเลือกแนวทางใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบ (In-House Development) เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด นอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานและความคุ้มค่าใช้ในการลงทุนแล้ว
แบบจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ
หลังจากโครงการพัฒนาระบบงานฝ่าย ได้รับการอนุมัติแล้ว ทีมงานพัฒนาระบบจึงได้วิเคราะห์ความต้องการของระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้จากผู้ใช้ระบบโดยสามารถจำลองได้ด้วยแผนภาพกระแสข้อมูล ดังนี้
Dataflow diagram ( Level 0 ) ระบบจัดการสินค้าคงคลัง
Dataflow diagram ( Level 1) ระบบจัดการสินค้าคงคลัง
Dataflow diagram ( Level 2) ระบบจัดการสินค้าคงคลัง
ER Diagram ระบบจัดการสินค้าคงคลัง
รูปแบบหน้าจอโปรแกรม
ขั้นตอนที่ 3
การกำหนดความต้องการของระบบ
(System Requirements Determination)
การกำหนดความต้องการของระบบ
เมื่อระบบการผลิตได้รับการอนุมัติจากการนำเสนอโครงการในขั้นตอนที่ผ่านมา และได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลในเบื้องต้นเพื่อค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นมาบ้างแล้ว ในขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบ จึงเริ่มต้นด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งรวมทั้งรายละเอียดในการทำงานในปัจจุบันและความต้องการในระบบใหม่ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบเดิม
ในการกำหนดความต้องการครั้งนี้ ทีมงานเลือกใช้วิธีการออกแบบสอบถาม(Questionnaire) สำหรับวิธีการออกแบบสอบถาม ทีมงามสามารถกำหนดคำถามที่ต้องการได้ตรงประเด็นเหมาะกับผู้จัดการแผนกที่มีเวลาให้สัมภาษณ์น้อยและผู้ตอบแบบสอบถามมีอิสระในการให้คำตอบ ซึ่งบุคคลที่ทางทีมงานเลือกที่จะออกแบบสอบถามมีดังนี้
ออกแบบสอบถาม (Questionnaire)
บุคคลที่ตอบแบบสอบถาม คือ ผู้จัดการแผนกต่าง ๆ การใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลในส่วนที่ต้องการพัฒนา เนื่องจากทีมงานสามารถควบคุมหัวข้อคำถามที่ต้องการรายละเอียดได้มากกว่าการสัมภาษณ์ ไม่ต้องมีการจดบันทึก ดังเช่น วิธีการสัมภาษณ์ ซึ่งจะทำให้เสียเวลามาก ไม่รวบกวนเวลาของผู้จัดการมากนัก สามารถเก็บข้อมูลได้มาก ตามการตั้งคำถามในแบบสอบถามอีกทั้งผู้ตอบแบบสอบถามจะรู้สึกมีอิสระในการให้ข้อมูลดังตัวอย่าง
จากการที่ทีมงานได้เก็บรวบรวมข้อมูลของระบบเดิม ด้วยวิธีการออกแบบสอบถาม สามารถสรุปข้อมูลที่ได้รับดังนี้
1. ข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของระบบเดิม
2. ความต้องการในระบบใหม่
3. ตัวอย่างเอกสาร แบบฟอร์ม และรายงายของระบบเดิม
ความต้องการของผู้ใช้กับระบบงานใหม่
จากการรวบรวมความต้องการของระบบใหม่ทำให้ทีมงานได้ข้อมูลเพิ่มเติม จึงได้นำมาวิเคราะห์หาขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่ตามความต้องการดังนี้
1. เก็บข้อมูลสินค้าที่ผลิต
2. เก็บข้อมูลวัสดุที่ใช้ในการผลิต
3. เก็บข้อมูลการสั่งซื้อวัสดุที่ใช้ในการผลิต
4. รายงานข้อมูลสินค้า
5. ช่วยวางแผนการผลิต
6. ช่วยเลือกบริษัทที่จะสั่งซื้อวัสดุในการผลิต
ขั้นตอนที่ 4
แบบจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ (Process Modeling)
จำลองขั้นตอนการทำ งานของระบบ
(System Requirement Structuring)
หลังจากโครงการพัฒนาระบบงานฝ่าย ได้รับการอนุมัติแล้ว ทีมงานพัฒนาระบบจึงได้วิเคราะห์ความต้องการของระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้จากผู้ใช้ระบบโดยสามารถจำลองได้ด้วยแผนภาพกระแสข้อมูล ดังนี้
อธิบาย Context Diagram
ลูกค้า
- ลูกค้าสามารถสมัครสมาชิก
- จัดเก็บข้อมูลลูกค้าจากการสมัคร
- ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้า
- ลูกค้าส่งรายการสั่งซื้อสินค้าให้พนักงาน
- ลูกค้าสามารถโอนเงินผ่านธนาคาร
- ลูกค้าส่งใบ Fax Payment เข้ามายังบริษัท
พนักงาน
- ออกใบเสร็จรายการสั่งซื้อสินค้า
- สำเนาใบเสร็จรายการสั่งซื้อสินค้า
- รับใบ Fax Payment จากลูกค้า
- ตรวจสอบใบ Payment
- พิมพ์ใบเสร็จรับเงิน
- ส่งสำเนาใบเสร็จรายการสั่งซื้อสินค้าไปยังคลังสินค้า
คลังสินค้า
- จัดของตามสำเนารายการสั่งซื้อสินค้า
- เรียกดูข้อมูลลูกค้า
- ออกใบส่งสินค้า
- จัดส่งสินค้าให้ลูกค้า
อธิบาย DFD Level 1
1.ฝ่ายการตลาดและการขาย
- เรียกดูรายงานข้อมูลสินค้าที่ผลิต
2.ฝ่ายการผลิต
- ต้องการทราบว่าให้ผลิตสินค้าชนิดใดเพิ่ม
- ต้องการทราบยอดสินค้าที่ผลิต
- แจ้งยอดสินค้าต่อฝ่ายผลิต
- บอกว่าต้องการชนิดใดเพิ่ม
- รายงานกิจกรรมทางการตลาด
3.ระบบพิมพ์งาน
- นำข้อมูลจากระบบการผลิตมาทำรายงาน
- นำข้อมูลจาก D1 มาทำรายงานส่งให้กลับฝ่ายการตลาดและการขาย
4.ฝ่ายคลังสินค้า
- ต้องการทราบจำนวนสินค้าที่ผลิต
- ระบบรายงานจำนวนสินค้าต่อฝ่ายคลังสินค้า
5.ฝ่ายบัญชี
- นำข้อมูลจาก D2 , D3 มาจัดการข้อมูล
6.ระบบจัดการข้อมูล
- นำข้อมูลจากฝ่ายการตลาดและการขาย,ฝ่ายการผลิต,ฝ่ายคลังสินค้ามาเก็บไว้ใน D1 D2 และD3
อธิบาย DFD LEVEL 1 Of Process 2
Process 2 สืบค้นข้อมูลมีขั้นตอนการทำงานย่อยภายในทั้งหมด 2 Process ดังนี้
1. Process 2.1 ตรวจสอบรายการสินค้าเป็นขั้นคอนการตรวจสอบรายการสินค้าที่ต้องการ
- Process จะทำการดึงข้อมูลสินค้าจากแฟ้มข้อมูลสินค้ามาทำการประมวลผลเพื่อตรวจสอบรายการสินค้า
2. Process 2.2 แสดงรายละเอียดสินค้าเป็นขั้นตอนการแสดงผลการค้นหาข้อมูลสินค้า
- Process จะทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 2.1 มาทำการประมวลผลเพื่อแสดงข้อมูลสินค้าหรือรายการที่ลูกค้าต้องการค้นหาให้กับลูกค้า
อธิบาย DFD LEVEL 1 Of Process 3
Process 3 สั่งซื้อสินค้าเป็นขั้นตอนที่ลูกค้าทำการสั่งซื้อสินค้า มีขั้นตอนการทำงานย่อยภายในทั้งหมด 5 ขั้นตอนหรือ 5 Process ดังนี้
1. Process 3.1 ตรวจสอบข้อมูล เป็นขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ
- Process จะทำการดึงข้อมูลลูกค้า ข้อมูลสินค้า ข้อมูลการชำระเงิน ข้อมูลการสั่งซื้อจากแฟ้มข้อมูลดังกล่าวมาทำการประมวลผลเพื่อทำการตรวจสอบข้อมูล
2. Process 3.2 เลือกรายการสินค้าเป็นขั้นตอนการเลือกสินค้าที่ต้องการสั่งซื้อ
- Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 3.1 มาทำการประมวลผลเพื่อทำการเลือกรายการสินค้า
3. Process 3.3 แสดงรายละเอียดเป็นขั้นตอนที่ระบบจะทำการแสดงผลเพื่อแสดงรายละเอียด
- Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 3.2 มาทำการประมวลผลเพื่อแสดงรายละเอียดไปให้กับลูกค้า
4. Process 3.4 ยืนยันการสั่งซื้อเป็นขั้นตอนการทำการยืนยันการสั่งซื้อของลุกค้า
- Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 3.3 มาทำการประมวลผลเพื่อให้ลูกค้ายืนยันการสั่งซื้อ
5. Process 3.5 บันทึกเป็นขั้นตอนการจัดเก็บข้อมูลการสั่งซื้อของลุกค้า
- Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 3.4 มาทำการประมวลผลเพื่อบันทึกข้อมูลการสั่งซื้อของลูกค้าไปจัดเก็บที่แฟ้มข้อมูลการสั่งซื้อและส่งใบสั่งซื้อให้กับลูกค้า
ขั้นตอนที่ 5
การออกแบบ User Interface
ขั้นตอนที่ 6
การพัฒนาและติดตั้งระบบ
ทีมงานได้จัดทำ เอกสารคู่มือการใช้งานโปรแกรมของระบบการผลิต เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ระบบสามารถเข้าใจการทำ งานของโปรแกรมมากยิ่งขึ้น โปรแกรมระบบการผลิตเป็นโปรแกรมที่ทำซึ่งประกอบด้วยระบบย่อยทั้งหมด 3 ส่วนได้แก่
1. ข้อมูลสินค้าจากแฟ้มข้อมูลสินค้ามาทำการประมวลผลเพื่อตรวจสอบรายการ
2. ประมวลผลเพื่อแสดงข้อมูลสินค้าหรือรายการที่ลูกค้าต้องการค้นหาให้กับลูกค้า
3. รายการสินค้าเป็นขั้นตอนการเลือกสินค้าที่ต้องการสั่งซื้อ
ขั้นตอนที่ 7
ซ่อมบำรุง
การซ่อมบำรุงนั้นจะขึ้นอยู่กับผู้พัฒนาระบบว่าระบบนั้นมีปัญหาอะไรบ้างจะอยู่ในความดูแลของผู้พัฒนาระบบมีการดูแลระบบอย่างต่อเนื่องเมื่อระบบมีปัญหาทางผู้พัฒนาระบบจะทำการซ่อมแซมระบบอย่างรวดเร็ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น